คงไม่ช้าเกินไปที่จะพูดถึง trek session 88 (part 3)
อีกอย่างที่ใหม่สำหรับsession 88 คือระบบ Full Floatting Suspension ซึ่่งเป็นการวางหูยึด shock แบบลอยตัว
ฟังดูก็ยังไม่ค่อยเข้าใจซักเท่าไหร่ หูยึดshock แบบลอยตัว ในทางปฎิบัติก็คือการไม่วางจุดยึดไว้กับเฟรมเลย แต่จะวางไว้ในส่วนที่สามารถเคลื่อนที่ได้ สำหรับเจ้าsession ก็วางไว้บน swing arm เลย
เปรียบเทียบให้เห็นกันชัด ๆ เลยครับ ระหว่างการวางจุดยึดแบบธรรมดา(บน) และการวางจุดยึดแบบลอยตัว(ล่าง)
เห็นความแตกต่างกันได้อย่างชัดเจนเลยครับ แบบทั่วไป เมื่อswing arm ทำงาน แรงจากล้อหลังก็จะส่งผ่านมายังshockและ shockก็จะรับแรงเอาไว้โดยแรงส่วนหนึ่งก็จะกระจายลงเฟรมโดยตรง ส่วน full floating จะส่งแรงไปยังswing arm ในช่วงต้นของการยุบ และเมื่อยุบมากขึ้นแรงจะค่อย ๆ ผันไปให้จุดหมุนตรงเฟรมโดยภาระตรงsiwng arm จะค่อย ๆ ลดลง
การทำงานจะเห็นได้ว่าทั้งหูยึดshock ด้านล่างและด้านบนจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน แต่จะเคลื่อนที่ด้วยอัตราส่วนที่ไม่เท่ากันโดยหูด้านบนจะเคลื่อนที่มากกว่าหูด้านล่าง สิ่งที่ได้จากการใช้หูยึดshock แบบลอยตัวคือ ทำให้การตอบสนองในช่วงแรก ๆ ของการยุบไวมาก และเมื่อยุบมากขึ้นในช่วงหลัง ๆ ก็จะค่อย ๆ แข็งขึ้น ในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงของการยุบ 3 นิ้วแรก จะต้องการแรง50ปอนด์ต่อนิ้ว หรือต้องมีแรง150 ปอนด์มากระทำถึงจะยุบได้3 นิ้ว แต่เมื่อยุบ 6 น้ิว อาจต้องใช้แรง350 ปอนด์ หรือ 58 ปอนด์ต่อนิ้ว ง่าย ๆ คือการยุบตัวจะเป็นแบบ progressive (แบบก้าวหน้าหรือแบบที่แข็งขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น) ที่มีความต่างระหว่างการยุบช่วงต้นและช่วงท้าย มากกว่าระบบอื่น ๆ
ผลข้างเคียงของfull floating อีกอย่างที่ควรรู้คือ การเซตseg ที่คำนวณโดยโปรแกรมสำเร็จรูปหรือwebต่าง ๆ (เวปที่ผมใช้บ่อยคือ tftunedshox) ใช้ไม่ได้ หรือใช้ได้ แต่ค่าseg ที่ได้จะไม่ตรงตามที่web แจ้งไว้ เช่นถ้าเราต้องการseg 33 กับคนขี่ที่หนัก73 kg. ถ้าเป็น single pivot ควรใช้สปริง 350 แต่ถ้าเป็นระบบ full floating ต้องใช้สปริง450 ถึงจะได้ seg 33 เปอร์เซนต์เท่ากัน ดังนั้นการ setup ควรคำนึงถึงค่าseg จริง ที่เราวัดได้เป็นหลัก อีกวิธีที่ง่ายที่สุดคือเซตตามคู่มือไปเลย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น