คงไม่ช้าเกินไปที่จะพูดถึง trek session 88 (part 2)

มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรใหม่ใน trek session 88 บ้าง

ABP เป็นระบบที่วางจุดหมุนหลังไว้ที่ดุมเพื่อลดการต้านการยุบตัวของ swing arm หรือทำให้swing arm เป็น Floating brake ในตัว โดยปกติแล้วในรถที่ไม่มีfloating brake จะมีแรงต้านการยุบตัวเวลาบีบเบรค อธิบายง่าย ๆ ก็คือ เวลาบีบเบรคแล้วโช๊คไม่ค่อยจะยุบซักเท่าไหร่ จากนั้นจึงมีการน้ำระบบ floating brake มาใช้ เพื่อแก้ปัญหานี้











เทียบให้เห็นเลยครับว่า ABP เป็นการนำ floating brake มาพัฒนาเป็น swing arm ยังไง หลักการทำงานเหมือนกันครับ แต่หน้าตาอาจจะไม่เหมือนกันนัก เพราะABP ต้องนำส่งแรงจากล้อหลังไปที่shock ด้วย แต่floating brake ทำหน้าประคองเบรคอย่างเดียว อ้าว....หลายคนคิดว่า ดูแล้วABPก็ไม่เป็นจำเป็นเลย เพราะ floating brake ทำงานได้ดีอยู่แล้ว คำตอบคือ...ใช่ครับ ถ้ามองในด้านการทำงานแล้วไม่ต่าง แต่ABPจะมีผลพลอยได้ที่dh bike สมัยใหม่ต้องมีคือมันสามารถลดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกไปได้(ก็ไม่ต้องใส่floating brake)โดยการทำงานไม่เสียไป ซึ่งก็คือน้ำหนักที่เบาลงด้วย กล่าวคือโดยทั่วไปเจ้าfloating ทั้งระบบ หนักประมาณ250-350 กรัม แต่ถ้าเป็นABPจะไม่มีน้ำหนักในส่วนนี้ แต่จะเพิ่มขึ้นในส่วนของโครงสร้างจุดหมุนดุม อีก100-150 กรัม ดังนั้นABPสามารถลดน้ำหนักตรงส่วนfloating brake ได้ถึง 150-200 กรัมเลยทีเดียว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โซ่จักรยานเสือภูเขา รู้ไว้ไม่เสียหาย

มารู้จัก Ratio ของเกียร์กันดีกว่า

เรื่องเล็ก ๆ เกี่ยวกับ กระโหลก