เปลี่ยนตีนผีให้คันเก่ง
ช่วงนี้ไม่รู้เป็นอะไร..จับรถที่ไร..ฟ้าครึ้มทุกที หรือว่าพระพิรุณรู้ใจเรา ว่าขี่เกียจปั่นแต่จับรถทำฟอร์มไปอย่างนั้นเอง แต่ก็นะ..ช่วงนี้ล้อไม่หมุนมาก 2 เดือน ไม่ใช่เพราะฝนแต่เพราะเจ้าตีนผีตัวดี ที่ใช้งานมา สีห้าปี ลาโลกไปแล้ว..โดดเนินอยู่ดี ๆ ก็หักซะอย่างงั้น ประกอบกับเห่อของเล่นใหม่ ก็เลยไม่ได้โอกาสซ่อมซะที แต่อยู่ ๆ ก็เริ่มรู้สึกว่าอยากออกกำลังกายขึ้นมา แรก ๆ ก็ไปวิ่งก่อน จากนั้นก็นึกขึ้นได้ว่า ที่เมื่อก่อนเราก็วิ่ง แล้วเหตุผลที่หันไปปั่นจักรยานก็คือ เริ่มปวดเข่า คราวนี้ก็เช่นกัน พอวิ่งติด ๆ กันก็เริ่มมีอาการ เลยหันมาซ่อมจักรยานคันเก่งขี่ดีกว่า
เนื่องด้วยชุดขับเคลื่อนที่ใช้อยู่ ใช้มันมานานจนมันทนไม่ไหวลาโลกไป ถึงจะเป็นอุปกรณ์ตีนผีชิ้นเดียว แต่ถ้าอยากจะให้มันอยู่กับเรานาน ๆ อีก ซัก 2-3 ปี ก็เลยคิดต้องเปลี่ยนทั้งชุด จากนั้นก็ไปรื้อตู้เก็บอะไหล่ดูก่อนว่า มีอะไรที่สะสมไว้แต่ปางก่อนบ้าง เรียกได้ว่าเก็บไว้จนลืมกันเลย (ตอนขี่ใหม่ ๆ ก็จัดว่าเป็นพวกบ้าอะไหล่เหมือนกัน ซื้อไม่ได้ใช้ แต่ตอนนี้ จะใช้แต่ไม่มีตังซื้อ) รื้อไปรื้อมาเจอใบจานหน้า 24 และ 36 สภาพเรียกว่าแทบไม่มีรอย ส่วนอย่างอื่น..สภาพพอใช้ได้แต่คงไม่เอามาใส่กับชุดใหม่..เดี่ยวมันจะพากันสึกหรอเร็วกว่าที่ควรจะเป็น...สิ่งที่ต้องเสียตังก็เป็น โซ่ เฟืองหลัง ตีนผี ว่าแล้วก็ต้องวางแผนก่อนว่าจะใช้spec ประมาณไหน อย่างเรา ๆ จะเล่น xo ทั้งชุดก็กะไรอยู่ เฉพาะตีนผีก็ปาเข้าไป 8พันกว่า ตูจะบ้าตาย..สุดท้ายก็ตกลงปลงใจไปที่ ตีนx7 โซ่ sram9speeds ธรรมดาบ้าน ๆ แต่มีข้อต่อปลดเร็วมาให้(รักsramก็ตรงนี้แหละ) แต่ปิดท้ายด้วยเฟือง ชิมาโน ดิออเร่(เซ็งนิดหน่อยตรงเฟื่อง อันเก่าเป็นxtแต่ก็ใช้ได้เหมือนกันไม่ซีเรียจ..แต่ถ้าตังเหลือ ตรูก็จัดxt )
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการเลือกตีนผี (เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนอีกแล้ว) เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อน ๆ มือใหม่ที่ยังไม่รู้ และมือเก่าที่รู้แล้วแต่มองข้าม หรือลืม ตีนผี หรือ rear derailleur แปลตรง ๆ ก็คืออุปกรณ์เปลี่ยนเกียร์ด้านหลัง สำหรับชาวmtb ผู้ผลิตเค้าจะทำมาให้เราเลือก 3 ขนาดความยาวของขา (ตีนผีสำหรับ 6-7-8ในที่นี้จะไม่พูดถึงนะครับ) ซึ่งมันจะมีขาท่อนล่างสุดที่ยาวไม่เท่ากัน ส่วนด้านบน เหมือนกันทุกประการ อ้าว ๆ ๆ ๆ ทำไม่พวก ขา downhill บอกว่า ตีนผีขาสันสปริงแข็งกว่าละคร๊าบบบ...ซึ่งถ้าลองไปจับและง้างดู มันก็รู้สึกแข็งกว่าจริง ๆ .......ความจริงแล้วตีนผีขาสัน กลาง ยาว จะมีท่อนบนเหมือนกันทุกประการครับ แล้วทำไมเวลาใช้ขาสั้นเราสึกว่ามันแข็งกว่า..คำตอบ ใช่ครับ ขาสั่นจะแข็งกว่า...แต่ไม่ได้แข่งเพราะสปริงที่แข็งกว่านะครับ แต่มันแข็งเพราะขาที่สั้นกว่า...งงหละซิ....ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ..เวลาเรางัดข้อถ้าให้เพื่อนงัดเราที่ตรงข้อมือ..แล้วลองงัดกันดู ..เปรียบเทียบกับให้เพื่อนคนเดิม ลองเลื่อนจุดงัดมาใกล้ข้อสอกเรามากขึ้น...ผลคือเราจะออกแรงน้อยกว่า....ถ้าแรงของเราคือแรงสปริงที่ดึงขาตีนผี...ภาระที่เราต้องรับถ้าเข้าใกล้จุดหมุนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งออกแรงน้อยลงเท่านั้น ตีนผีขาสั้นก็เลยแข็งกว่า......
สำหรับการเลือกตีนผีนั้น สิ่งที่เราต้องรู้คือเฟืองของเรากี่เกียร์ ถ้า 9 เกียร์ ก็ซื้อตีนผีสำหรับ 9 เกียร์นะคร๊าบบบบพี่น้อง โดยปกติตามผู้ผลิตให้มีค่า total capacity ภาษาไทยไม่รู้เค้าเรียกว่าอะไร แต่เอาแบบเข้าใจง่าย ๆ ว่าเป็นค่าความต่างรวมของชุดขับเคลื่อน วิธีคำนวณง่าย ๆ คือ ถ้าใบหน้าใช้ 22-44 หลังใช้ 11-34 ก็คือ
(44-22)+(34-11)=xxx
22 + 23 = 45
22 + 23 = 45
45 ก็คือ total capacity
การนำไปใช้ไม่ต้องสนใจเอาหลักง่าย ๆ ไปใช้เลย
จาก spec ของผู้ผลิตแล้วจะกำหนดค่า total capacity สูงสุดที่ตีนผีแต่ละขนาดรับได้..คือ
ขายาว รับได้ไม่เกิน 45
ขากลาง รับได้ไม่เกิน 35
ส่วนขาสัน รับได้ไม่เกิน 23
ก็ยัง..งง..กันอีก...เอาที่ง่ายกว่านั้นคือ.....
ตีนผีขายาวใช้กันจานหน้า 1,2,3 ใบ
ตีนผีขากลางใช้กับจานหน้า 1หรือ2 ใบ
ตีนผีขาสั้นใช้กับจานหน้า 1 ใบ
การนำไปใช้ไม่ต้องสนใจเอาหลักง่าย ๆ ไปใช้เลย
จาก spec ของผู้ผลิตแล้วจะกำหนดค่า total capacity สูงสุดที่ตีนผีแต่ละขนาดรับได้..คือ
ขายาว รับได้ไม่เกิน 45
ขากลาง รับได้ไม่เกิน 35
ส่วนขาสัน รับได้ไม่เกิน 23
ก็ยัง..งง..กันอีก...เอาที่ง่ายกว่านั้นคือ.....
ตีนผีขายาวใช้กันจานหน้า 1,2,3 ใบ
ตีนผีขากลางใช้กับจานหน้า 1หรือ2 ใบ
ตีนผีขาสั้นใช้กับจานหน้า 1 ใบ
ดังนั้นจะซื้อตีนผีทั้งทีสิ่งที่ต้องคำนึงก็..จานหน้ากี่ใบ กี่เกียร์ (ส่วนเรื่องสำนักคงไม่ต้องบอก..ถ้าshifter ค่ายไหนก็ตีนค่ายนั้นเน้อ ยกเว้น sram attack ที่ใช้กันตีนผี shimano เท่านั้นนะจ๊ะ)
มาดูวิธีใส่ง่าย ๆ ในแบบของผมละกานน
นี่ไง..ขากลาง...หายากนะเนียะ...(แต่จริง ๆ ที่เวิลไบด์มีเป็นโหล..แต่ตกปีนะ..ปี 2009 เนื่องจาก..บ้านเราใช้แต่ ขายาว กับขาสั้น...ขากลางเลยเหลือบาน..แต่ก็นะ..เป็นของปีเก่า..แต่ราคาก็เก่าด้วย..อันนี้โอเคเลย..รับได้)
หลังจากได้แนวแล้ว....ก็ต่อด้วยตั้งค่าความห่างระหว่าง..เฟืองกับลูกรอกบนเช่นกัน...ค่าที่เหมาะสมตามคู่มือทั้ง sram และ shimano อยู่ที 5-6 มิลลิเมตรจ้าาาาา
รูปนี้ก็เป็นการตั้งระยะระหว่าง เฟืองกันลูกรอก...อย่าลืมนะจ๊ะ.. 5-6 มิลลิเมตร...แต่ในความเป็นจริงจะตั้งเท่าไหร่ก็ตามสบายเลย....แต่ของกระซิบนิดนึกว่า...ผมลองตั้งตามคู่มือ เทียบกับ ตั้งห่าง ๆ ตามที่ได้ยินมา...ปรากฎว่า...ตั้งตามคู่มือ..เกียร์เปลียนได้เร็วกว่า..แม่นกว่า......แต่ไม่ต้องเชื่อผมนะครับ...ไปลองดูเองเลยยยยยยย.....
มีเทคนิคมาฝากอีกแล้ว...เรื่องการใช้โซ่..ว่าจะวัดยังไงให้ง่ายและได้ค่าตามที่ผู้ผลิตกำหนด...ง่าย ๆ ครับ..ไม่ต้องนับข้อ..ไม่ต้องคำนวนเฟือง... หลังจากเราตั้งค่าเบื้องต้นเสร็จ (ก็ที่บอกตอนแรกไง ว่าตั้งให้ตรงแนวและได้ระยะ) ก็คล้องโซ่เลยครับ... คล้องที่เฟือง เล็กสุดที่จานหน้า และ เล็กสุดที่จานหลัง...จากนั้นก็กะระยะโซ่โดยให้ตีนผี ง้างออกมาน้อยที่สุดโดยโซ่ไม่หย่อน....ใช้ได้เลย...
จากนั้นก็ดึงสายที่ร้อยให้ตึงที่สุดด้วยมือนะครับ...ล้อกสายเลย...แล้วก็ไปตั้งเกียร์ที่มือเกียร์เอา..สำหรับบางรุ่นสามารถตั้งที่ตีนผีได้เลย..ก็ตั้งที่ตีนผีก่อนนะครับ...ถ้าไม่พอค่อยตั้งที่มือเกียร์....
ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ..ทำเองก็ได้ไปต้องพึ่งร้าน..สิ่งที่ได้เพิ่มเติมจากการทำรถเองก็คือความใส่ใจและเวลามีtrips จะได้แก้ไขเบื้อต้นได้...ขอให้สนุกกับการปันจักรยานนะครับ
ติดตามเราทาง youtube ได้แล้วที่ช่อง bikeday
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น