ขาจาน trial มันเป็นงี้นี่เอง

อาจจะนอกเรื่องไปนิด ที่เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ทางซักเท่าไหร่ เกี่ียวกับ อะไหล่ อุปกรณ์ เทคนิคต่าง ๆ ในกลุ่มจักรยานtrial แต่ด้วยความที่พอมีฝีมือเชิงช่างอยู่บ้าง ก็เลยได้รับการไหว้วานในช่วยหน่อย

ถอดให้หน่อย ....ฟังดูแล้วเหมือนจะง่าย กับการถอด เฟื่องหลังออกจากดุมล้อ จำได้ว่าสมัยเด็ก ๆ ซัก ม.2 ม.3 เห็นจะได้ ตอนนั้น สำหรับจักรยานต้อง haro master เท่านั้น ซึ่งก็ได้เคยถอดเฟืองของเจ้าharo คันเก่งเหมือนกัน เนื่องจากที่เป็นเด็ก(ยังหาเงินไม่ได้)และอยู่ต่างจังหวัด การหาเฟืองหลังดี ๆ ทน ๆ หายาก อะไหล่ให้เลือกก็มีแต่พวกเฟื่องธรรมดา ๆ อันละ 40-45 บาท ถูก แต่พังเป็นว่าเล่นเลย เนื่องจากราคาถูกและถอดเปลี่ยนเฉพาะเวลาที่พังแล้วเท่านั้น ในตอนนั้นจึงใช้วิธิการใช้ฆ้อนตอก ๆ ๆ มันออกมา




มาวันนี้ก็จะใช้วิชาตอกที่เคยสั่งสมมาแต่ครั้งอดีต ก่อนจะลงมือเลยถามรุ่นน้องว่า เจ้าเสตอที่จะให้เอาออก ราคาเท่าไหร่ ได้คำตอบมา....โห......ราคาแพงกว่าเฟืองหลังxtซะอีก......สงสัยจะใช้วิชาเดิม ๆ ไม่ได้ซะแล้ว พังแน่นอน



อ้าว...มีตัวถอดเฟืองก็ไม่บอก ก็อย่างว่าสมัยเด็ก ๆ ไม่มีนี่หว่า สมัยนั้นร้านแถวบ้าน(ต่างจังหวัด)ก็ยังตอกเลย หลายคนเห็นตัวถอดแล้วคงร้องอ่อ และคงนึกภาพได้ว่าจะใช้งานมันยังไง ... จากนั้นเลยถามไปว่า มีตัวถอดแล้วทำไมไม่ถอดเองว้าาา.....ลองแล้วไม่ออกเพ่...คือคำตอบ แล้วเพื่อความแน่ใจเลยลองถอดแบบวิธีธรรมดาที่คิดว่าทุก ๆ คนน่าจะทำเหมือนกัน คือใส่บล็อกถอดเข้ากับเฟืองหลัง แล้วก็ใช้ประแจเลื่อนขันออกมา ง่าย ๆ แค่นี้ทำไมไม่ออก อยากบอกว่า ฮา...กันอย่างมาก เพราะมันถอดไม่ออกจริง ๆ เล่นกันจนตะคริวกินหน้าอกเลย ฮา...อีกรอบ จากนั้นก็พักตั้งหลักและลองนั่งพิจารณาดูว่า ทำไมมันไม่ออก ซึงสาเหตุน่าจะมาจากแรงขันไม่พอ สิ่งควรทำคือต้องใช้บล็อกเบอร์24 ต่อด้ามยาวหน่อย ซึ่งก็น่าจะออก แต่...รื้อทั้งบ้านไม่มีเบอร์ที่ว่า(ใหญ่ซะขนาดนั้น) เหลือบไปมองปากกาจับงาน ถ้าคิดกลับกันโดยใช้วิธีการหมุนล้อแทน






ก็จัดการล็อกตัวถอดไว้กับปากกา






สวมเข้าไป


หมุนล้อทวนเข็นนาฬิกาออกมาเลยแต่ก็ต้องออกแรงกันพอสมควร เย้...ออกแล้ว



สิ่งที่อึ้งนิดหน่อยกับขาจานtrial ว่าคิดได้ไง กับการเอาเฟืองฟรีไปไว้ที่ขาจานเลย แล้วด้านหลัง ก็เป็น fixแทน อืม.เข้าใจคิด แต่คนในวงการtrial อาจจะมองเป็นเรื่องปกติธรรมดา ก็อย่างว่าเทคโนโลยีคนละสายกัน เลยเอามาเล่าให้ฟังเผื่อคนอื่น ๆ ที่ไม่รู้จะได้รู้เพิ่มอีกนิด(รวมทั้งผู้เขียนด้วย)





ถอดออกมาแล้วก็ใส่เข้าไปใหม่ แต่ใส่ที่ขาจาน ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับตอนถอด แน่นอนว่า..ใส่ง่ายกว่า



ใส่เข้าไปแล้ว ดูดีแปลกตาไม่ใช่เล่นเลยนะเนี้ย


ก็เป็นอีกหนึ่งแนวความคิดที่วงการจักรยาน สายต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับแนวทางของตนเอง แต่เป้าหมายก็คงไม่ต่างกันมาก สำหรับจักรยานที่ยังไงจะต้องใช้แรงขาปั่นอยู่ดี ดังนั้น คอนเซป สวย ทน เบา คงยังอยู่กับเราและวงการจักรยานไปอีกนาน


ติดตามเราทาง youtube ได้แล้วที่ช่อง bikeday

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โซ่จักรยานเสือภูเขา รู้ไว้ไม่เสียหาย

มารู้จัก Ratio ของเกียร์กันดีกว่า

เรื่องเล็ก ๆ เกี่ยวกับ กระโหลก