สายปั่นดันเขา กันระบบขับเคลื่อน 1x

มันคงจะไม่มีปัญหาเลย ถ้าค่ายยักษ์ใหญ่ 1 ใน 2 ค่ายของระบบขับเคลื่อนจักรยาน ไม่คิด และวางconcept ระบบขับเคลื่อน เป็นแบบ 1x หรือใช้จานหน้าใบเดียว แบบไม่มีข้อจำกัดของการออกแบบเฟรม ไม่ต้องใส่เชนไกด์ และ จากอุปกรณ์ที่น้อยกว่ามาก ทำให้น้ำหนักรวมจากการใช้ระบบ 1x หายไปเยอะเลย เยอะมากในระดับ 300-500 กรัมเลยทีเดียว

จากคราวที่แล้ว(นานมาก) เราได้ทดสอบ จานหน้าที่มีฟันแบบ narrow wide ไปแล้ว ที่มันออกแบบมาสำหรับการเกาะโซ่ ไม่ให้ตก สำหรับระบบ 1x หรือ จานหน้าใบเดียว
(ตามลิ้งไปทบทวนกันได้ จานหน้าnarrow wide)
จากการทดสอบ ยาว ๆ มีอาการโซ่ตกบ้าง นาน ๆ ที แต่ถ้าขี่เข้าแทรก ปั่น ดันเขา ดันเนิน ไม่เคยตก  มักจะตกตอนลงยาว ๆ แล้วเจออุปสรรค์ แบบติดต่อกันช่วงระยะเวลานึง โดยรวมถือว่า ผ่าน สำหรับขี่เล่น ออกทริป แต่สำหรับแข่งขัน อาจยังต้องพึง chain guide ซึ่งเด่วนี้ก็มีให้เลือก มากมายหลายแบบ แบบที่เหมาะกับชาวครอส และ เอนดูโร่ ก็น่าจะต้องเบา ๆ หน่อย



แบบนี้เลย ไม่เกิน 50 กรัม รวม น๊อต มีทั้งแบบรัดกระโหลก ,iscg 03, iscg05 เลือกกันตามเฟรมที่ใช้อยู่ได้เลย

เรื่องจานหน้าไม่ขอพูดถึงแระ ปัญหาที่ผมเจอ จากคราวก่อน คือ ระบบ 1x9 ซึ่ง ใช้จานหน้า 32 ฟัน กับชุดเฟืองหลัง 9 speed แบบ 11-34 ซึ่ง เหลือพอ สำหรับแทรคทางราบ แต่เจอเนิน นิดหน่อย ก็ต้องลงเข็นกันแล้ว (สายอ่อนสุดๆ) เสียอรรถรสในการปั่นมาก จึงได้หาแนวทางปรับปรุงมาไว้เป็นข้อมูลกัน

สำหรับ 1x9
ปกติเฟืองมารตฐานส่วนใหญ่ที่ใช้กัน จะเป็น 11-34  (มี12-36 แต่ไม่ขอพูดถึงนะครับ)  กับ จานหน้าแบบ 3 ใบ แบบ 22-32-44   เมื่อเราเลือกใช้แบบ จานหน้าใบเดียว เราก็จำเป็นต้องเลือก จานหน้าที่เหมาะกับ แทรค ที่เราปั่นประจำ โดย ก่อนเปลี่ยน เราลองทดลองว่า ที่จานหน้า22 ฟัน กับแทรคแบบนี้ เรามักใช้ เฟืองหลังเท่าไหร่    เช่น
ถ้าเราใช้ 22/30 เป็นประจำ แทบไม่ได้ขึ้นใบหลังเป็น 34 เลย หรือนาน ๆ ขึ้นที  เราก็สามารถเอาอัตรทดไปเทียบเคียง กับ จานชุดใหม่ได้

(ก่อนอื่น ผมขอคำนวนอัตรทด โดยการให้ เฟืองตาม(หลัง) เป็นตัวตั้ง และ เฟืองนำ(จานหน้า) เป็นตัวหารนะครับ เพราะ เราจะเอามาใช้ประโยชน์ง่่ายกว่า  )

จากกรณีนี้ เราใช้ 22/30 หรือจานหน้าเล็กสุด เฟืองหลัง รองจากเฟืองใหญ่สุด จะได้ อัตราทด
30หาร22 = 1.364 ซึ่งหมายความตามภาษามนุษย์ว่า เราหมุนจานหน้า จำนวน 1.364รอบ จะได้ล้อหลังหมุน 1 รอบ

จานนั้นเรามาดูตัวเลือกกันว่าในท้องตลาดมีเฟืองหลังอะไรบ้าง ซึ่งก็แน่นอน ผมแนะนำ เฟืองหลัง sunrace 9 speed ขนาด 11-40

sunrace 9 speed spec


ถ้าเราต้องการอัตราทดที่ใกล้เคียงกับที่เราใช้บ่อย คือ 1.364 เราก็ เอาเลือกจากหน้าแบบ narrow wide แบบ 30 ฟัน กับชุดเฟือง 11-40 แบบ9 สปีด  เราก็จะได้อัตราทด ที่ เฟืองหน้า 30 /หลัง 40 ที่ 1.333 ซึ่งใกล้เคียงกับ จานหน้า 22 /หลัง 30 มาก เรียกได้ว่า แทบจะเท่ากันเลย

สำหรับ 1x10
ใครใช้ 10 speed  มีตัวเลือกค่อยข้างเยอะเลย  ทั้งสามารถ ใส่เฟืองหลังแต่งจาก 11-36 เป็น 11-42 ได้ หรือจะเลือกเปลี่ยนเฟืองหลังเป็น 11-42 ของ sunrace  ใช้งบไม่มากทั้ง 2 แบบ
แต่ที่ต้องคำนวนกันนิดหน่อยก็คือ จานหน้าจะใช้เท่าไหร่ดี  บอกได้เลยว่ามีตัวเลือก เพิ่มขึ้นอีกหน่อย คือ สามารถ ใช้ จานหน้า 30 หรือ 32 ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้งาน และแรงของแต่ละคน  จากชุดขับปกติ 10speed แบบ 2x10 มักจะใช้จานหน้า 24/36 หรือ 24/38 ถ้าเราเอาจานเล็กสุดมาเปรียบเทียวอัตราทดกัน
เมื่อ เราใช้จานหน้า 24 กับจานหลัง 32(ใบรองจากใบใหญ่สุด) เป็นประจำ เราก็เลือก จานหน้า 32 กับ ชุดเฟืองหลังแบบ 11/42 ได้เลย ซึ่งจะได้ อัตราทนแถว ๆ 1.3xx พอกัน  แต่ถ้าใคร ไม่พอ สามารถ ลดจากหน้าเป็น 30 ฟัน และเมื่อใช้กับ ชุดเฟืองหลังแบบ 11-42 จะได้อัตราทด 1.4 มากกว่าเดิม แต่ยังน้อยกว่า ชุดจานหน้าเดิม 24 ฟัน หลัง 36 ซึ่งจะได้อัตราทด 1.5 ต่อ 1  แต่ก็คิดว่าคงพอจะช่วยได้


sunrace 10 speed spec


สำหรับ 1x11
ใครใช้ 11 speed อยู่แล้ว นี่สบายเลย เดิม ๆ ก็มากับชุดเฟืองหลัง  11-40, 11-42 สำหรับshimano และ 10-42 สำหรับ sram อยู่แล้ว

สำหรับชาว sram ที่ใช้โม่แบบ XD นี่ เหมือนจะดี แต่ ขอบอกว่า เฟืองหลังแต่ง 46 ค่อยข้างยุ่งยาก ในการใส่ แต่ก็คงไม่มีปํญหาสำหรับชาวเสือพันแท้  แน่นอนว่า ถ้าเกียร์ เดิม 10-42 ไม่พอ คงต้องเริ่มที่ลดเฟืองหน้าเป็น 30 ฟันดูก่อน ซึ่งถูกกว่า การอัพเฟืองหลังแต่ง  ถ้าไม่พอ ก็ จัดเฟืองแต่งกันไป

สำหรับชาว shimano มีเฟือง ให้เลือกเลย ตั้งแต่ 11-40, 11-42, 11-46 ซึ่งถ้าเราทำเป็น ระบบ 1x นี่ ทางเลือกเราจะเยอะขึ้น ในที่นี้ เราเน้น range ที่ต้องการใช้งานแบบ ปั่นขึ้น ดันเนิน ดันเขา จึงขอเอา เฟืองหลังแบบ 11/46 เป็นตัวตั้ง ซึ่งมีเฟืองมาให้เราเลือกใช้ 2 แบบ จากทาง shimano และ ทาง sunrace เรามาเลือกให้เหมาะกับการใช้งานได้เลย


sunrace 11speed specs



shimano xt 11 speed spec


เอา spec เฟืองหลัง เปรียบเทียบกัน ระหว่าง shimano กับ sunrace โดย
shimano xt 11-46 จะให้ เฟืองมาที่ 11-13-15-17-19-21-24-28-32-37-46  และ
sunrace 11-46 จะได้เฟืองมาที่   11-13-15-18-21-24-28-32-36-40-46
สังเกตุ 3 ใบใหญ่สุด  มีความต่าง ซึงก็ไม่มีอะไรดีกว่ากันครับ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน เส้นทาง แรง ของแต่ละคน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าเน้นแทรคทางราบ การต่อเกียร์ ชิดกว่า แต่มีเฟืองไว้แค่ ดันขึ้นเนินสำรองไว้เฟืองนึง ก็ เลือก shimano ได้เลยครับ  10 เฟืองแรก ชิดกว่า แต่จะกระโดด จาก 37 ไป 46 เลย เอาไว้ใช้ปีนอย่างเดียว
ส่วน sunrace  ก็เหมาะสำหรับ สายปีนเป็นหลัก มีเฟืองปีนไว้ให้ใช้ 2 ใบใหญ่ ตั้งแต่ 40,46 ซึ่งสามารถ ใช้ 40 ได้ในเนินที่ไม่ชันมาก และ มี 46 ไว้สลับกันใช้พักขา แต่ก็ต้องแลกกับ ระยะเกียร์ ที่ค่อยข้างห่างในทางราบ

ทีนี้ จานหน้าเราจะใช้เท่าไหร่ดี
จากช่วงอัตราทด สูงที่สุด ของเสือภูเขาที่ใช้กันอยู่แถว 1.5 ต่อ1  จากระบบ 9 speed ที่เกียร์เบาสุด จานหน้า 22 /หลัง 34 จะได้อัตราทด 1.545 และ ระบบ 10 speed ที่เกียร์เบาสุด จานหน้า 24/ หลัง 36 จะได้อัตราทด 1.500   ซึ่งใกล้เคียงกันที่ประมาณ 1.5  ถ้าเราต้องการเอาอัตรทดนี้เป็นหลัก เพื่อการใช้งานที่กว้าง สำหรับชุดเฟืองหลัง แบบ 11-46
จานหน้า 32 จะได้อัตราทดสูงสุดที่เฟืองหลัง 46 เป็น 1.438ต่อ1
จานหน้า 30 จะได้อัตราทดสูงสุดที่เฟืองหลัง 46 เป็น 1.533ต่อ 1
น่าจะเพียงพอทั้ง 2 แบบ จะเลือกแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับสไตร์การขี่ และแทรคที่ขี่ประจำ

สำหรับ 1x12
สำหรับ ชุด sram eagle แบบ 1x12 ซึ่งให้เฟืองหลังมาที่ 10-50  บอกได้เลยเหลือ ๆ


sram eagle spec


ที่จานหน้า 32 ฟัน กับเฟืองหลัง 50 ได้อัตราทด 1.563 เลย แบบไม่ต้องคิดมากว่าจะเลือกจานหน้าเท่าไหร่  หรือจะเพิ่มหน้า เป็น 34 ฟัน กับเฟืองหลัง 50 ได้อัตราทด 1.471 ก็ยังเหลือพอ  แต่ราคาคงต้องทุ่มทุนสร้างกันหน่อย


สำหรับใครที่จะทำชุดเกียร์เป็น 1x ก็เอาแนวทางนี้ไปใช้ได้ครับ ใช้งบไม่เยอะ เลือกขยับจากพื้นฐานระบบเกียร์เดิมที่เราใช้อยู่  ถ้าใช้ 9sp  ก็ เอาแค่ จานหน้า 30 กับ เฟืองหลัง 11-40 ลงทุน ใบจานและเฟืองหลังราว 2xxx บวกลบนิดหน่อย ก็จะได้ ระบบขับเคลื่อนที่ขี่สนุก ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องชิพเตอร์ ไม่ต้องสับจาน ไม่ต้องสายเกียร์  และที่สำคัญ เทียบกันน้ำหนักที่หายไป กับงบประมาณแค่นี้ ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี คุ้มค่ามาก  แต่ไม่ว่่าเฟืองจะเท่าไหร่ ใช้ดียังไง ก็อย่าลืมอัพแรงควบคู่กันไปด้วยนะครับ


ติดตามเราทาง youtube ได้แล้วที่ช่อง bikeday 

google-site-verification: google9ff88bbebfe1d1b8.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โซ่จักรยานเสือภูเขา รู้ไว้ไม่เสียหาย

มารู้จัก Ratio ของเกียร์กันดีกว่า

เรื่องเล็ก ๆ เกี่ยวกับ กระโหลก